การพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์แผ่นกระจก
การพิมพ์ภาพโดยใช้แผ่นกระจกเป็นกรรมวิธีที่เรียกว่า การพิมพ์ภาพครั้งเดียว หรือ Monoprint โดยอาศัยกระจกเป็นเสมือนแม่พิมพ์รองรับสีสัน พื้นผิว ที่จะก่อให้เกิดเรื่องราวและความหมายเมื่อปรากฏออกมาเป็นภาพพิมพ์แล้วตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
เทคนิคการพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์แผ่นกระจก
ขั้นตอนแรก
เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ได้แก่ กระจกใส หนา ประมาณ 2-3 มิลลิเมตร สีพิมพ์ กระดาษพิมพ์ น้ำมันผสมสี ทินเนอร์ล้างสี แท่นพิมพ์ จากนั้นให้เช็ดทำความสะอาดแผ่นกระจกให้ปราศจากรอยคาบต่างๆ และฝุ่นผง
ขั้นตอนที่ 2
ร่างภาพด้วยปากกาเขียนกระจก หรือใช้วิธีระบายสีพิมพ์ลงบนแผ่นกระจกให้มีรูปแบบตามที่ต้องการ หรืออาจเขียนลวดลายโดยควรใช้เครื่องมือที่มีความแข็งแรง มีปลายแหลมขูดขีดกระจกให้เป็นรูปทรง พื้นผิว หรือร่องรอยต่างๆตามที่ต้องการได้
ขั้นตอนที่ 3
ตกแต่งรายละเอียดของรูปทรง พื้นผิว น้ำหนัก ทั้งนี้ ยิ่งเขียน ระบาย แต่งแต้มต่อเติมให้เกิดรูปทรง พื้นผิวร่องรอย สีสัน น้ำหนักมากเท่าใด เนื้อหาของภาพพิมพ์ก็จะยิ่งขยายเรื่องและความซับซ้อนมากขึ้นเท่านั้น
ขั้นตอนที่ 4
วางกระดาษพิมพ์ทาบลงบนแม่พิมพ์กระจกให้แนบสนิท แล้วใช้ผ้าสักหลาดปิดทับเพื่อป้องกันแรงกดจากแท่นพิมพ์ที่อาจทำให้กระจกแตกได้ จากนั้นนำแม่พิมพ์เข้าแท่นพิมพ์ก็จะได้ภาพพิมพ์กระจกอย่างที่ต้องการ
การพิมพ์ภาพจากแม่พิมพ์แบบต่างๆ
วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
การพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์แกะไม้
การพิมพ์แกะไม้เป็นศิลปะภาพพิมพ์ผิวนูนที่ต้องระมัดระวังเรื่องของความปลอดภัยขณะลงมือปฏิบัติงาน เนื่องจากอุปกรณ์เครื่องมือแกะไม้มีความคมมาก นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงหมึก หรือสีที่ใช้พิมพ์ต้องมีความเข้มข้น และความเหนียวพอเหมาะ เพื่อที่หมึกพิมพ์จะสามารถเกาะอยู่บนส่วนนูนของแม่พิมพ์ได้ ไม่ไหลเยิ้มลงสู่ร่องที่แกะไว้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
เทคนิคการพิมพ์ภาพด้วยแม่พิมพ์แกะไม้
ขั้นตอนแรก
จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เช่น ไม้อัด หรือกระดาษอัดสำหรับแกะสลักเป็นแม่พิมพ์ เครื่องมือแกะ สีพิมพ์ เป็นต้น หลังจากนั้นออกแบบภาพร่างลงบนกระดาษก่อนหลายๆภาพ แล้วเลือกภาพที่ชอบ หรือสอดคล้องกับหัวข้อที่จะทำมากที่สุด สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการออกแบบภาพจะต้องคำนึงถึงก็คือ การกลับซ้าย-ขวาของภาพเมื่อผลงานแล้วเสร็จออกมา
ขั้นตอนที่ ๒
ลงมือแกะไม้ตามภาพที่ได้ออกแบบไว้ วิธีการแกะต้องหันเครื่องมือแกะออกไปนอกลำตัว เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายขณะลงมือปฏิบัติงาน การแกะจะต้องใช้จินตนาการ ประมาณความรู้สึกถึงความลึกตื้นของการแกะในแต่ละจุด รวมทั้งเมื่อลงมือพิมพ์แล้วจะให้ผลเป็นอย่างไร
ขั้นตอนที่ ๓
เมื่อแกะแม่พิมพ์เสร็จตามแบบที่ต้องการแล้ว ให้นำลูกกลิ้งมากลิ้งหมึก หรือสีพิมพ์บนแผ่นกระจกอ่อน จากนั้นจึงใช้ลูกกลิ้งกลิ้งหมึก หรือสีบนแม่พิมพ์จนน้ำหนักของหมึก หรือสีมีความสม่ำเสมอทั่วทั้งแผ่นแม่พิมพ์
ขั้นตอนที่ ๔
เมื่อกลิ้งหมึกบนแม่พิมพ์จนได้ปริมาณและความเข้มข้นที่เหมาะสมแล้ว ให้นำกระดาษพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าแม่พิมพ์พอสมควรวางทาบลงบนแม่พิมพ์ต้นแบบ แล้วใช้มือค่อยๆ ลูบกระดาษพิมพ์ให้แนบสนิทกับแผ่นแม่พิมพ์
ขั้นตอนที่ ๕
หลังจากนั้นนำเข้าแท่นพิมพ์ หรือจะกดทับด้วยลูกประคบผ้า หรือช้อนกินข้าว โดยใช้ส่วนโค้งด้านหลังช้อนกดลงบนกระดาษให้ทั่วทั้งแผ่นก็ได้ ก็จะได้ภาพพิมพ์แกะไม้ตามที่ต้องการ
การพิมพ์แกะไม้เป็นศิลปะภาพพิมพ์ผิวนูนที่ต้องระมัดระวังเรื่องของความปลอดภัยขณะลงมือปฏิบัติงาน เนื่องจากอุปกรณ์เครื่องมือแกะไม้มีความคมมาก นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงหมึก หรือสีที่ใช้พิมพ์ต้องมีความเข้มข้น และความเหนียวพอเหมาะ เพื่อที่หมึกพิมพ์จะสามารถเกาะอยู่บนส่วนนูนของแม่พิมพ์ได้ ไม่ไหลเยิ้มลงสู่ร่องที่แกะไว้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
เทคนิคการพิมพ์ภาพด้วยแม่พิมพ์แกะไม้
ขั้นตอนแรก
จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เช่น ไม้อัด หรือกระดาษอัดสำหรับแกะสลักเป็นแม่พิมพ์ เครื่องมือแกะ สีพิมพ์ เป็นต้น หลังจากนั้นออกแบบภาพร่างลงบนกระดาษก่อนหลายๆภาพ แล้วเลือกภาพที่ชอบ หรือสอดคล้องกับหัวข้อที่จะทำมากที่สุด สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการออกแบบภาพจะต้องคำนึงถึงก็คือ การกลับซ้าย-ขวาของภาพเมื่อผลงานแล้วเสร็จออกมา
ขั้นตอนที่ ๒
ลงมือแกะไม้ตามภาพที่ได้ออกแบบไว้ วิธีการแกะต้องหันเครื่องมือแกะออกไปนอกลำตัว เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายขณะลงมือปฏิบัติงาน การแกะจะต้องใช้จินตนาการ ประมาณความรู้สึกถึงความลึกตื้นของการแกะในแต่ละจุด รวมทั้งเมื่อลงมือพิมพ์แล้วจะให้ผลเป็นอย่างไร
ขั้นตอนที่ ๓
เมื่อแกะแม่พิมพ์เสร็จตามแบบที่ต้องการแล้ว ให้นำลูกกลิ้งมากลิ้งหมึก หรือสีพิมพ์บนแผ่นกระจกอ่อน จากนั้นจึงใช้ลูกกลิ้งกลิ้งหมึก หรือสีบนแม่พิมพ์จนน้ำหนักของหมึก หรือสีมีความสม่ำเสมอทั่วทั้งแผ่นแม่พิมพ์
ขั้นตอนที่ ๔
เมื่อกลิ้งหมึกบนแม่พิมพ์จนได้ปริมาณและความเข้มข้นที่เหมาะสมแล้ว ให้นำกระดาษพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าแม่พิมพ์พอสมควรวางทาบลงบนแม่พิมพ์ต้นแบบ แล้วใช้มือค่อยๆ ลูบกระดาษพิมพ์ให้แนบสนิทกับแผ่นแม่พิมพ์
ขั้นตอนที่ ๕
หลังจากนั้นนำเข้าแท่นพิมพ์ หรือจะกดทับด้วยลูกประคบผ้า หรือช้อนกินข้าว โดยใช้ส่วนโค้งด้านหลังช้อนกดลงบนกระดาษให้ทั่วทั้งแผ่นก็ได้ ก็จะได้ภาพพิมพ์แกะไม้ตามที่ต้องการ
การพิมพ์ภาพจากแม่พิมพ์แบบต่างๆ
เทคนิคการพิมพ์ภาพที่กล่าวมาแล้วในก่อนหน้านี้ แสดงให้เห็นถึงวิธีการและวัสดุ อุปกรณ์ที่มีความเกี่ยวข้องไปตามเทคนิคต่างๆ อันเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละวิธี เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ และมีประสบการณ์กับเทคนิคการพิมพ์ภาพจากแม่พิมพ์ต่างๆ เพิ่มมากขึ้นในหัวข้อนี้จึงขออธิบายเทคนิคการพิมพ์บาวิธีเพื่อเป็นแบบอย่าง ดังต่อไปนี้
1. การพิมพ์ด้วยชิ้นส่วนของวัสดุสิ่งของ
การพิมพ์ภาพจากแม่พิมพ์เศษวัสดุ หรือวัสดุธรรมชาติ เป็นวิธีการพิมพ์ภาพจากแม่พิมพ์ชนิดแม่พิมพ์นูน เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่ในส่วนบนสุดของแม่พิมพ์ การพิมพ์แบบนี้เป็นวิธีการพิมพ์อย่างง่าย และเป็นแบบดั้งเดิม การพิมพ์ภาพจากแม่พิมพ์เศษวัสดุ หรือวัสดุธรรมชาติ เป็นวิธีการพิมพ์ภาพจากแม่พิมพ์ชนิดแม่พิมพ์นูน เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่ในส่วนบนสุดของแม่พิมพ์ การพิมพ์แบบนี้เป็นวิธีการพิมพ์อย่างง่าย และเป็นแบบ
เทคนิคการพิมพ์ภาพแบบระบายสีบนแม่พิมพ์
ขั้นแรก
จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการอาจเป็นวัสดุธรรมชาติ เช่น ใบไม้ เปลือกไม้ ขนนก เป็นต้น หรือวัสดุสังเคราะห์เช่นพลาสติก หนัง โลหะ เป็นต้น หรือกระดาษที่มีพื้นผิวเป็นร่องนูน และเตรียมจานสี พู่กัน และ อุปกรณ์การพิมพ์ด้วยสีแบบง่าย
ขั้นสอง
ออกแบบร่างภาพลงบนกระดาษที่เตรียมใว้โดยต้องคำนึงถึงรูปทรงและเรื่องราวว่ามีความละเอียดมากน้อยเพียงใด ถ้าหากมีรายละเอียดมาก การร่างภาพจะต้องมีการกำหนดตำแหน่ง สัดส่วนของส่วนประกอบต่างๆ อย่างชัดเจน เมื่อเวลาพิมพ์ภาพด้วยวัสดุแต่ละชนิดจะกระทำได้อย่างสะดวก
ขั้นสาม
ผสมสีที่ต้องการระบายลงบนวัสดุที่จะนำไปพิมพ์การระบายลงวัสดุ ควรระบายสีให้ทั่วพื้นผิวที่ต้องการ โดยคำนึงถึงความเข้มของสีบนพื้นผิววัสดุ ซึ้งจะมีผลต่อค่าน้ำหนักอ่อน-แก่ที่จะปรากฏบนระนาบรองรับ หรือบนกระดษาที่พิมพ์
ขั้นที่สี่
นำวัสดุที่ระบายสีแล้วไปแตะประทับบนกระดาษที่เตรียมไว้ น้ำหนักที่กดแต่ละครั้งจะให้น้ำหนักของสีที่ไม่เท่ากัน น้ำหนักของมือที่กดจึงต้องประมานการให้ดี ให้ทดลองพิมพ์ลงบนลงกระดาชนิดอื่นๆ ก่อนแล้วจึงค่อยพิมพ์ลงบนกราษจริง
ขั้นที่ห้า
เป็นการพิมพ์เก็บแต่งรายละเอียดของผลงานในขั้นตอนที่สี่และห้าเป็นกระบวนการเกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งขั้นตอนวิธีการเหล่านี้ไม่มีเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัวว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร ขึ้นอยู่กับความพึ่งพอใจของผู้สร้างสรรค์ผลงานเป็นหลัก
เทคนิคการพิมพ์ภาพแบบใช้ลูกกลิ้งสีบนแม่พิมพ์
ขั้นแรก
จัดเตรียมวัสดุอุปกรรที่ต้องการสร้างแม่พิมพ์ เช่น ใบไม้ เปลือกไม้ เป็นต้น หรือวัสดุสังเคราะห์ เช่น พลาสติก หนัง โลหะ เป็นต้น จากนั้นผสมสีคลุกเคล้าน้ำมันให้เข้ากันในภาชนะรองรับแล้วใช้ลูกกลิ้งกลิ้งบนสีที่ผสมไว้
ขั้นที่สอง
นำลูกกลิ้งที่ติดสีไปกลิ้งลงบนวัสดุที่จัดวางบนแผ่นกระจกเป็นแม่พิมพ์จนทั่วพื้นผิว เห็นลายเส้นคมชัดตัดกัน หรือซ้อนทับกัน
ขั้นที่สาม
นำกระดาษพิมพ์ไปวางทาบลงบนแผ่นกระจกที่จัดวางวัสดุใว้ โดยวางให้แนบพอดีกับกระจกที่จัดวางวัสดุใว้ โดนยวางให้แนบพอดีกับขนาดกระจก ห้ามขยับเขยื้อนกระดาษไปมา
ขั้นที่สี่
นำกระดาษที่ทาบบนกระจกเข้าแท่นพิมพ์ปรับแรงกดของแท่นพิมพ์ให้พอเหมาะ แล้วค่อยๆหมุนเลื่อนแม่พิมพ์ให้เลื่อนผ่านเข้าไปก็จะได้ภาพพิมพ์จากลูกกลิ้งตามที่ต้องการ
1. การพิมพ์ด้วยชิ้นส่วนของวัสดุสิ่งของ
การพิมพ์ภาพจากแม่พิมพ์เศษวัสดุ หรือวัสดุธรรมชาติ เป็นวิธีการพิมพ์ภาพจากแม่พิมพ์ชนิดแม่พิมพ์นูน เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่ในส่วนบนสุดของแม่พิมพ์ การพิมพ์แบบนี้เป็นวิธีการพิมพ์อย่างง่าย และเป็นแบบดั้งเดิม การพิมพ์ภาพจากแม่พิมพ์เศษวัสดุ หรือวัสดุธรรมชาติ เป็นวิธีการพิมพ์ภาพจากแม่พิมพ์ชนิดแม่พิมพ์นูน เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่ในส่วนบนสุดของแม่พิมพ์ การพิมพ์แบบนี้เป็นวิธีการพิมพ์อย่างง่าย และเป็นแบบ
เทคนิคการพิมพ์ภาพแบบระบายสีบนแม่พิมพ์
ขั้นแรก
จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการอาจเป็นวัสดุธรรมชาติ เช่น ใบไม้ เปลือกไม้ ขนนก เป็นต้น หรือวัสดุสังเคราะห์เช่นพลาสติก หนัง โลหะ เป็นต้น หรือกระดาษที่มีพื้นผิวเป็นร่องนูน และเตรียมจานสี พู่กัน และ อุปกรณ์การพิมพ์ด้วยสีแบบง่าย
ขั้นสอง
ออกแบบร่างภาพลงบนกระดาษที่เตรียมใว้โดยต้องคำนึงถึงรูปทรงและเรื่องราวว่ามีความละเอียดมากน้อยเพียงใด ถ้าหากมีรายละเอียดมาก การร่างภาพจะต้องมีการกำหนดตำแหน่ง สัดส่วนของส่วนประกอบต่างๆ อย่างชัดเจน เมื่อเวลาพิมพ์ภาพด้วยวัสดุแต่ละชนิดจะกระทำได้อย่างสะดวก
ขั้นสาม
ผสมสีที่ต้องการระบายลงบนวัสดุที่จะนำไปพิมพ์การระบายลงวัสดุ ควรระบายสีให้ทั่วพื้นผิวที่ต้องการ โดยคำนึงถึงความเข้มของสีบนพื้นผิววัสดุ ซึ้งจะมีผลต่อค่าน้ำหนักอ่อน-แก่ที่จะปรากฏบนระนาบรองรับ หรือบนกระดษาที่พิมพ์
ขั้นที่สี่
นำวัสดุที่ระบายสีแล้วไปแตะประทับบนกระดาษที่เตรียมไว้ น้ำหนักที่กดแต่ละครั้งจะให้น้ำหนักของสีที่ไม่เท่ากัน น้ำหนักของมือที่กดจึงต้องประมานการให้ดี ให้ทดลองพิมพ์ลงบนลงกระดาชนิดอื่นๆ ก่อนแล้วจึงค่อยพิมพ์ลงบนกราษจริง
ขั้นที่ห้า
เป็นการพิมพ์เก็บแต่งรายละเอียดของผลงานในขั้นตอนที่สี่และห้าเป็นกระบวนการเกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งขั้นตอนวิธีการเหล่านี้ไม่มีเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัวว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร ขึ้นอยู่กับความพึ่งพอใจของผู้สร้างสรรค์ผลงานเป็นหลัก
เทคนิคการพิมพ์ภาพแบบใช้ลูกกลิ้งสีบนแม่พิมพ์
ขั้นแรก
จัดเตรียมวัสดุอุปกรรที่ต้องการสร้างแม่พิมพ์ เช่น ใบไม้ เปลือกไม้ เป็นต้น หรือวัสดุสังเคราะห์ เช่น พลาสติก หนัง โลหะ เป็นต้น จากนั้นผสมสีคลุกเคล้าน้ำมันให้เข้ากันในภาชนะรองรับแล้วใช้ลูกกลิ้งกลิ้งบนสีที่ผสมไว้
ขั้นที่สอง
นำลูกกลิ้งที่ติดสีไปกลิ้งลงบนวัสดุที่จัดวางบนแผ่นกระจกเป็นแม่พิมพ์จนทั่วพื้นผิว เห็นลายเส้นคมชัดตัดกัน หรือซ้อนทับกัน
ขั้นที่สาม
นำกระดาษพิมพ์ไปวางทาบลงบนแผ่นกระจกที่จัดวางวัสดุใว้ โดยวางให้แนบพอดีกับกระจกที่จัดวางวัสดุใว้ โดนยวางให้แนบพอดีกับขนาดกระจก ห้ามขยับเขยื้อนกระดาษไปมา
ขั้นที่สี่
นำกระดาษที่ทาบบนกระจกเข้าแท่นพิมพ์ปรับแรงกดของแท่นพิมพ์ให้พอเหมาะ แล้วค่อยๆหมุนเลื่อนแม่พิมพ์ให้เลื่อนผ่านเข้าไปก็จะได้ภาพพิมพ์จากลูกกลิ้งตามที่ต้องการ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)